[x] ปิดหน้าต่างนี้
ค้นหา   
99 หมู่10 ต.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 18180 โทร : 036-342239 แฟ็กซ์ : 036-342240 E-mail : konommuaklek2515@hotmail.com

ผังองค์กร
นายนครินทร์ สีวงกต
ประธานกรรมการ
เมนูหลัก
แบนเนอร์
จำนวนผู้เข้าชม

 เริ่มนับ 12/ก.พ./2558
ผู้ใช้งานขณะนี้ 18 IP
ขณะนี้
18 คน
สถิติวันนี้
126 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
1084 คน
สถิติเดือนนี้
12014 คน
สถิติปีนี้
97367 คน
สถิติทั้งหมด
1179581 คน
IP ของท่านคือ 3.133.147.252
(Show/hide IP)
  

  หมวดหมู่ : สาระน่ารู้
เรื่อง : ฟาร์มสมัยใหม่
โดย : admin
เข้าชม : 4454
เสาร์์ ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ.2559
A- A A+
        

ฟาร์มสมัยใหม่
         โดย "ดร.พีรเดช ทองอำไพ "การเกษตรสมัยใหม่ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง     เรื่องการใช้แรงงานและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ผ่านมาในอดีตเรายังไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน ดังนั้นการทำเกษตรส่วนใหญ่อาศัยความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างเพื่อนบ้าน แล้วก็แลกเปลี่ยนถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน แต่ว่าปัจจุบันแรงงานหายากมาก และทุกอย่างเป็นเงินเป็นทองไปหมด รูปแบบการเกษตรจึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เข้าสู่ยุคใหม่ ซึ่งเริ่มมีการใช้เครื่องจักรกล และระบบอัตโนมัติต่างๆ เข้ามาช่วยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการทำการเกษตรเพื่อขาย ก็จะต้องมองเรื่องของการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และไม่ต้องพึ่งพาแรงงานมากนักเพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนในเรื่องของตลาดแรงงานและความหายากของแรงงาน
เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมฟาร์มโคนมที่ประเทศเยอรมัน ทั้งฟาร์มมีโคนมอยู่หลายร้อยตัว และมีพื้นที่ปลูกหญ้าเกือบสี่ร้อยไร่ แต่ว่าทั้งฟาร์มมีคนดูแลเพียง 2 คนเท่านั้น ถามว่าทั้งหมดนี้ทำได้อย่างไร ปรากฎว่าในฟาร์มใช้ระบบอัตโนมัติเกือบทั้งหมด ฟาร์มนี้มีอยู่สองส่วน ส่วนแรกเป็นคอกเก่า ที่มีหน้าตาเหมือนคอกวัวนมบ้านเรา ซึ่งเมื่อก่อนนี้ก็ใช้เลี้ยงโคนมและรีดนมในคอกนี้ แต่ต่อมาได้ขยายงานสร้างคอกใหม่ขึ้นมา และวางระบบเพื่อติดตั้งเครื่องมืออัตโนมัติต่างๆ เข้าไปแทนที่การใช้แรงงานคน ตั้งแต่การทำพื้นเป็นแผ่นสแล็ป มีช่องระบายน้ำและของเสียจากวัวลงไปด้านล่าง ซี่งเป็นบ่อขนาดใหญ่ ที่น่าสนใจคือมีหุ่นยนต์ทำหน้าที่กวาดของเสียลงไปตามช่องเหล่านี้โดยอัตโนมัติ หุ่นยนต์ที่ว่านี้ก็เหมือนกับเครื่องดูดฝุ่นสมัยใหม่ที่ใช้ตามบ้าน ที่มีหน้าตาเป็นจานกลมๆ เหมือนของเล่นเด็ก และสามารถตั้งเวลาให้เดินดูดฝุ่นเองโดยมีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม เมื่อไฟหมดก็กลับไปยังฐานแล้วเติมไฟเอง หุ่นยนต์ทำความสะอาดคอกก็คล้ายกัน พอไฟเต็มก็ออกมาเดินทำหน้าที่กวาดของเสียจากวัวลงร่องทั่วทั้งคอก พอไฟใกล้หมดก็กลับไปเติมเองที่ฐาน งานนี้จึงประหยัดค่าแรงงานทำความสะอาดคอกไปได้มาก
งานที่ใช้แรงงานมากอีกอย่างหนึ่งคือการรีดนม ที่เยอรมันเลี้ยงโคนมที่ให้นมได้วันละไม่ต่ำกว่า 40 กิโลกรัม โดยที่แต่ละตัวจะรีดนมวันละ 3 ครั้ง หากต้องใช้แรงงานคนก็คงต้องใช้จำนวนมากและคงไม่ทันแน่นอน แต่ว่าที่นี่ใช้เครื่องรีดนมอัตโนมัติ โดยที่วัวแต่ละตัวจะเดินเข้ามาให้รีดนมเอง เครื่องรีดนมที่ว่านี้จะมีเลเซอร์จับตำแหน่งหัวนมแล้วเสียบจุกรีดนมเข้าที่หัวนมแต่ละหัวของวัวโดยอัตโนมัติและดูดนมออกมาพร้อมทั้งวิเคราะห์เสร็จสรรพว่าแต่ละตัวให้นมเท่าไหร่ มีเซลล์เม็ดเลือดขาวปนมาเกินกำหนดหรือไม่ หลายคนอาจสงสัยว่าอะไรคือแรงจูงใจให้วัวเหล่านี้เข้าไปยังเครื่องรีดนมอัตโนมัติ ความจริงใช้วิธีง่ายๆ คือเอาอาหารข้นหรืออาหารผสมครบส่วนที่เรารู้จักกันในนามของ ทีเอ็มอาร์ เป็นตัวล่อ เพราะว่าอาหารข้นนั้นคงเป็นที่ถูกปากของบรรดาวัวทั้งหลาย ในแต่ละวันได้กำหนดไว้ว่าวัวนมแต่ละตัวจะถูกรีดนม 3 รอบ แต่ละช่วงจะห่างกันไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และจะได้รับอาหารข้น 1.5 กิโลกรัม แต่วัวจะได้รับอาหารส่วนนี้ก็ต่อเมื่อเดินเข้าไปที่เครื่องรีดนม ขณะที่วัวกินอาหาร เครื่องรีดก็ทำหน้าที่รีดนมไปด้วย สิ่งที่เห็นก็คือวัวจะเข้าแถวรอเข้าไปรีดนมเอง เพื่อต้องการอาหารส่วนนี้ บางตัวเพิ่งรีดนมเสร็จยังไม่ถึง 3 ชั่วโมง แล้วแอบกลับเข้าเครื่องเพื่อรีดนมอีกเพื่อหวังอาหาร ก็จะไม่ได้เพราะแต่ละตัวมีป้ายอิเล็กทรอนิกส์ติดอยู่ เครื่องอ่านก็จะสั่งการไปที่คอมพิวเตอร์ไม่ให้อาหารและไม่รีดนม จนกว่าจะครบเวลา ทั้งหมดนี้เป็นระบบอัตโนมัติ ทั้งฟาร์มจึงใช้คนเพียง 2 คนดูแล โดยไม่ต้องลงมาที่คอกโดยตรง ระบบเหล่านี้อาจเกิดขึ้นในเมืองไทยในอนาคตอันใกล้นี้ก็ได้ครับ เพราะว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรของเมืองไทยก็ไม่ยิ่งหย่อนกว่าที่อืนทั่วโลกครับ
ติดต่อ สวก.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร 
(องค์การมหาชน) - สวก.
2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว 
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900





Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

สาระน่ารู้5 อันดับล่าสุด

      ชำแหละนมโรงเรียนรัฐบาลต้องรู้ทัน พ่อค้าเกษตรกร 12/มิ.ย./2560
      ฟาร์มสมัยใหม่ 9/ม.ค./2559
      เศรษฐกิจในประเทศ 10/ก.ค./2558
      ปูดอีสาน-เหนือพบโรงงานผลิตนมด้อยคุณภาพอื้อ 6/ก.ค./2558
      กู้ภาพลักษณ์คุณภาพนมโรงเรียน 6/ก.ค./2558