เมื่อถึงฤดูฝนต้องเผชิญกับฝนตกและแดดออก สภาพอากาศเช่นนี้ทำให้คนส่วนใหญ่เป็นหวัดได้โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ และเมื่อเป็นหวัดก็เสี่ยงมากที่จะเป็นเป็นไวรัส RSV ด้วยสภาพอากาศในบ้านเราปัจจุบัน กำลังเผชิญกับฤดูกาลที่เรียกว่า “ปลายฝนต้นหนาว” ซึ่งเดิมทีประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนทำให้หนาวได้ไม่นาน
สำหรับพ่อ – แม่แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “ลูก” การจะเลี้ยงให้เขาเติบโตไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราต้องพยามหาของดี ๆ ให้เขาได้กิน เสื้อผ้าที่สะอาด และของใช้ที่เหมาะสมกับเด็กเพื่อให้เขามีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
ไวรัส RSV คืออะไร
จริง ๆ แล้วไวรัสRSVมีมาตั้งแต่พ.ศ.2498แล้ว แต่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้จักกันมากนัก ซึ่งไวรัสนี้เกิดจากลิงชิมแปนซีตัวนึงที่เป็นไข้หวัด ก่อนจะตรวจพบว่าไวรัสนั้นสามารถติดต่อมาสู่คนได้ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ และจะมีอาการรุนแรงมากในเด็กอายุน้อย ซึ่งอาจจะเกิดจากไข้หวัดธรรมดาและพัฒนาไปเป็นRSV
อาการ
RSVมีระยะการฝักตัวอยู่ที่ 3 – 6 วัน อารการแรกเริ่มจะมีอาการคล้ายกับเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือคล้ายปอดอักเสบ และค่อย ๆ เริ่มมีอาการอื่น ๆ ร่วมเข้ามาและรุนแรงมากขึ้น
ˠ เหนื่อยหอบ หายใจลำบาก
ˠ หายใจเข้า – ออกมีเสียงลมหายใจ หายใจเร็ว แรง
ˠ มีอาการตัวเขียว
ˠ ไอ มีเสมหะในลำคอ
ไวรัสตัวนี้จะเป็นอันตรายกับเด็กที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด
โรคหอบหืด บางรายอาจมีอาการหนักถึงขั้นหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ เลยทีเดียว นอกจากอาการข้างต้นแล้ว หากเด็กมีอาการซึมลง กินข้าว กินนมน้อยลง อารมณ์แปรปรวน ไม่ร่าเริง ควรพาไปพบแพทย์เช่นกัน
สาเหตุของการติดเชื้อ
เชื้อไวรัส RSV ตัวนี้ไม่ได้ติดต่อได้เพียงแค่เด็กเล็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ก็มีโอกาสที่จะเป็นไวรัสตัวนี้ได้เหมือนกัน เพียงแต่ผู้ใหญ่มีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรงมากกว่า ทำให้ไวรัสตัวนี้สามารถหายเองได้ต่างจากไวรัสโคโรน่า แต่กลับกันในเด็กเล็กนั้นภูมิคุ้มกันยังต่ำทำให้ไวรัสตัวนี้ค่อนข้างจะอันตราย โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ แต่หากพบในผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน
ไวรัส RSV สามารถติดต่อได้เช่นเดียวกับการติดต่อของไข้หวัดทั่วไปเลย คือผ่านทางการใช้อากาศหายใจร่วมกัน การไอ จาม หรือแม้แต่การดื่มน้ำทานอาหารร่วมกัน สาเหตุการเสียชีวิตของเด็กส่วนใหญ่จะมาจากการที่เด็กมีภาวะแทรกซ้อนหรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว หรือเด็กที่อาจจะคลอดก่อนกำหนด บางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ระบบการหายใจล้มเหลว ลามไปถึงการเสียชีวิตได้
วิธีการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรค RSV ที่หายขาด ยังคงต้องทำการรักษาตามอาการ เช่นการให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอ หรือการดูดเสมหะไปจนถึงการพ่นยาขยายหลอดลม เพื่อเป็นการดลความรุนแรงของไข้ให้ลดลงไปได้บ้าง
วิธีการป้องกัน
การป้องกันการติดเชื้อ RSV ทำได้โดยการรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะ มือ เพราะเป็นนอวัยวะที่สัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ โดยตรง ล้างมือบ่อย ๆ ใส่หน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อลดภาวะขาดน้ำและช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย หากพ่อ – แม่ท่านไหนที่มีลูกหลายคน หรือเลี้ยงในครอบครัวใหญ่ก็ให้แยกภาชนะออกจากเด็กคนอื่น ๆ
|