[x] ปิดหน้าต่างนี้
ค้นหา   
99 หมู่10 ต.มิตรภาพ อ.มวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 18180 โทร : 036-342239 แฟ็กซ์ : 036-342240 E-mail : konommuaklek2515@hotmail.com

ผังองค์กร
นายสุวัฒน์ แก้ววิสูตร
ประธานกรรมการ
เมนูหลัก
แบนเนอร์
จำนวนผู้เข้าชม

 เริ่มนับ 12/ก.พ./2558
ผู้ใช้งานขณะนี้  IP
ขณะนี้
คน
สถิติวันนี้
คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
คน
สถิติเดือนนี้
คน
สถิติปีนี้
คน
สถิติทั้งหมด
คน
IP ของท่านคือ 3.142.172.190
(Show/hide IP)
  
ข้อมูลเกี่ยวกับ AEC  
 



ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

Asean Economic Community History

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้( Association of Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ ( The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดย สมาชิกผู้ก่อตั้งมี ๕ ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์สิงคโปร์และไทย ซึ่งมีผู้แทนทั้ง ๕ ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวง พัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รา มอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ ฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์)และพันเอก (พิเศษ)ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่าง ๆ เข้าเป็นสมาชิก เพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิก เมื่อ ๗ มกราคม ๒๕๒๗) เวียดนาม (วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๘)ลาว พม่า (วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๐) และกัมพูชา (เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๒) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ ๑๐ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันอาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่มีประชากรรวมกันเกือบ ๕๐๐ ล้านคน อาเซียนต่อก่อตั้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์ระหว่างประเทศ

นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับ รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนั้นการประชุมสุดยอด ( ASEAN Summit) หรือ การประชุมของ ผู้นำ ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนวนโยบายในภาพรวม และเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกัน ประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว ซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสารในรูปแบบต่างๆ อาทิแผนปฏิบัติการ( Action Plan) แถลงการณ์รวม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรือ อนุสัญญา (Convention) ส่วน การประชุม ในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส จะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้านการเมืองและความมั่นคงอาเซียนได้จัดทำปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขต สันติภาพ เสรีภาพความเป็นกลาง ( Zone of Peace, Freedom and Neutrality-TAC) ในปี ๒๕๑๙ และ จัดทำสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ( Treaty on the Southeast Asian Nuclear Weapon-Free Zone-SEANWFZ) ในปี ๒๕๓๘ รวมทั้งได้ริเริ่ม การประชุม อาเซียน ว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิ ก ( ASEAN Regional Forum-ARF) ซึ่งไทย เป็นเจ้าภาพ จัดการประชุม ระดับรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อปี๒๕๓๗

ด้านเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ( ASEAN Free Trade Area-AFTA) ใน ปี ๒๕๓๕ เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกัน เพื่อช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนใหม่ปริมาณเพิ่มขึ้น ลดต้นทุน การผลิตสินค้าและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศกับทั้งได้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เพิ่มเติม เพื่อให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจสมบรูณ์แบบและมีทิศทางชัดเจน ด้วยการจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Areya-AIA) ด้านสังคม อาเซียนมีความร่วมมือเฉพาะด้าน เพื่อให้ประชาชนมีความสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมี การพัฒนา ในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต "ประชาคมอาเซียน" (ASEAN Community) เป็นเป้าหมายของการรวมตวักนัของประเทศสมาชิก อาเซียน ภายในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕)โดยมีวิสัยทัศน์ร่วมของผู้นำ อาเซียน คือ"การสร้างประชาคม อาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง" ทั้งนั้นเพื่อสร้าง ประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับมือสิ่งท้าทายทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของ อาเซียนในเวทีระหว่าง ประเทศทุกด้าน โดยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีสามารถประกอบกิจกรรมทาง เศรษฐกิจได้สะดวกมากขึ้น และประชาชนในอาเซียนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนั้นยังมี การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ใน ๓ มิติคือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๙ ที่อินโดนีเซีย เมื่อ ๗ ต.ค. ๒๕๔๖ ผู้นำประเทศสมาชิก อาเซียน ได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ

๑. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community : AEC)

๒. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Socio-Cultural Pillar)

๓. ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (Political and Security Pillar)

คำขวัญของอาเซียน คือ“ One Vision, One Identity, One Community.” หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม เดิมกำหนดเป้าหมายที่จะตั้งขึ้นในปี๒๕๖๓ แต่ต่อมาได้ตกลงกันเลื่อนกำหนดให้เร็วขึ้นเป็นปี ๒๕๕๘ และก้าวสำคัญ ต่อมาคือการจัดทำ ปฏิญญาอาเซียน ( ASEAN Charter) ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่ เดือน ธันวาคม ปี ๒๕๕๒ นับ เป็นการยกระดับความร่วมมือของอาเซียนเข้าสู่มิติใหม่ในการสร้าง ประชาคม โดยมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางกฎหมายและมีองค์กรรองรับการดำเนินการเข้าสู่เป้าหมายดังกล่าว ภายในปี ๒๕๕๘ ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียน รวม ๑๐ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า มาเลเซียอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม ลาว กัมพูชา บรูไน สำหรับเสาหลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( ASEAN Economic Community หรือ AEC ภายในปี ๒๕๕๘ เพื่อให้อาเซียน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการการลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรีและ เงินทุนที่เสรีขึ้น ต่อมาในปี๒๕๕๐ อาเซียนได้จัดทำ พิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วย แผนงาน เศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุ เป้ าหมายในปี ๒๕๕๘ รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้า ในอนาคต AEC จะเป็นอาเซียน +๓ โดยจะเพิ่มประเทศจีน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น เข้ามาอยู่ด้วยและ ต่อไปก็จะมีการเจรจาอาเซียน +๖ จะมีประเทศจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดียต่อไป หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานในกรอบอาเซียนประกอบด้วย

๑.๑. สำนักเลขาธิการอาเซียน ( ASEAN Secretariat) ที่กรุงการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลาง ในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิกโดย มีเลขาธิการอาเซียน ( Secretary-General of ASEAN) เป็นหัวหน้าสำนักงาน ที่ผ่านมาผู้แทนจากประเทศไทยดำรง ตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนแล้ว ท่าน คือ ฯพณฯ นายแผน วรรณเมธีระหว่างปี๒๕๒๗ ๒๕๒๙ ดร.สุรินทร์พิศสุวรรณ ระหว่างปี๒๕๕๑ ๒๕๕๕

๒. สำนักงานเลขาธิการแห่งชาติหรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและติดตาม ผลการดำเนินงานในประเทศนั้น

๓. สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศและ คณะกรรมการผู้แทนถาวร ประจำอาเซียน ( Committee of Permanent Representatives-CPR) ซึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูต ที่ไดรับการแต่งตั้งมาจากประเทศสมาชิก มีภารกิจในการสนับสนุน การทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและ องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา รวมทั้งประสานงานกับ สำนักเลขาธิการอาเซียน และ สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติตลอดจนดูแล ความร่วมมือของอาเซียน กับ หุ้น ส่วนภายนอก ในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศสมาชิกเห็นพ้องต้องกัน ที่จะให้ความสำคัญ ของการ มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพในการร่วมมือกันปัญหาและความท้าทาย ตลอดจนเพื่อความสร้างความแข็งแกร่งและอำนาจ ต่อรองให้แก่ประเทศสมาชิกผู้นำ อาเซียนได้ลงนามร่วมกัน ในปฏิญญาว่า ด้วยความร่วมมือใน อาเซียน ฉบับที่ ๒ (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Ball Concord II) เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคม อาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี ๑๕๖๓ (ค.ศ. ๒๐๒๐)โดยสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมือ อย่างรอบด้าน โดยใน ด้านการเมืองให้จัดตั้ง "ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ ASEAN Political-Security Community (APSC) ด้านเศรษฐกิจให้จัดตั้ง "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community (AEC) และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้จัดตั้ง "ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียนหรือ ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ซึ่งต่อมาผู้นำ อาเซียนได้เห็นชอบให้เคร่งรัด การรวมตัวเป็น ประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้น กว่าเดิม อีก ๕ ปี คือภายในปี ๒๕๕๘ (ค.ศ. ๒๐๑๕)โดย เล็งเห็นว่า สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอาเซียนจะเป็นต้องปรับตัว เพื่อให้สามารถคงบทบาทนำ ในการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

ภาษาอาเซียน

              ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก  คือ  ภาษาอังกฤษ

คำขวัญของอาเซียน

        "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม

              (One Vision, One Identity, One Community)

อัตลักษณ์อาเซียน

             อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน  เพื่อให้บรรลุชะตา  เป้าหมาย  และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน


          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร หรือ AEC คืออะไร หลายคนอาจจะยังสงสัย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับคำว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC กันค่ะ

 ความเป็นมาพอสังเขป 

          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เนื่องจากสมาชิกอาเซียนเห็นว่า ปัจจุบันอาเซียนมีจำนวนประเทศ 10 ประเทศ ประชากรเกือบ 500 ล้านคน ดังนั้นถือว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ จึงควรร่วมมือกัน เพื่อทำให้อาเซียนมีความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เหตุนี้เอง อาเซียนจึงกลายสภาพเป็น เออีซี ในที่สุด โดยจะก่อตั้งเออีซีอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2558 เลื่อนเข้ามาจากเดิมคือ พ.ศ. 2563

          อย่างไรก็ตาม อนาคตข้างหน้า เออีซีมีแนวโน้มขยายเป็น อาเซียน +3 คือ เพิ่ม จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก่อนที่จะเป็น อาเซียน +6 โดยเพิ่ม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย

 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN  Economic  Community : AEC) 

          AEC หรือ ASEAN  Economic  Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี 

          โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน  ASEAN  Summit ครั้งที่  8  เมื่อ  4  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2545  ณ  กรุงพนมเปญ  ประเทศกัมพูชา ที่ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทาง ได้มีการดำเนินงานที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน  ได้แก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน  และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีสำหรับการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558  ( ค.ศ. 2015)

 เป้าหมายสำคัญของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC  มี  4  ด้าน  คือ                                                                                                                           
          1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน  (Single Market and Production Base)   

            เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  ลงทุน  แรงงานฝีมือ  เงินทุน  อย่างเสรี

            ส่วนนี้ จริงๆ เป็นการดำเนินตามพันธกรณีที่ได้ตกลงและดำเนินการมากันอยู่แล้ว ทั้ง

          * AFTA (ASEAN Free Trade Area)  เริ่มปี  2535 (1992)

          * AFAS (ASEAN Framework Agreement on  Services)  กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามปี  2538  (1995)  ได้เจรจาเปิดเสรีเป็นรอบๆ  เจรจาไปแล้ว  5  รอบ

          * AIA  (ASEAN Investment Area)  กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ  ลงนามและมีผลตั้งแต่ 2541  (1998)

          2. สร้างขีดความสามามารถทางเศรษฐกิจ (High Competitive Economic Region)

            ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบาย ที่ช่วยการรวมกลุ่ม  เช่น นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี , ทรัพย์สินทางปัญญา, พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน

            ร่วมกันดำเนินการโดยแลกเปลี่ยนข้อมูล  ฝึกอบรมบุคคลากรร่วมกัน

          3. สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Equitable Economic Development)

            สนับสนุนการพัฒนา SMES

            สร้างขีดความสามารถผ่านโครงการที่มีอยู่แล้ว

          4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Fully  Integrated  into  Global Economy)

            เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับนอกภูมิภาค เช่น  ทำ  FTA

 กรอบความร่วมมือ 

          สำหรับกรอบความร่วมมือ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2547 ที่กรุงเทพฯ สามารถหาข้อสรุปในสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้กับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ  ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนและการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ดังนี้

          (1) การค้าสินค้า - จะเร่งลดภาษีสินค้าใน Priority Sectors (เกษตร/ประมง/ผลิตภัณฑ์ไม้/ผลิตภัณฑ์ยาง/สิ่งทอ/ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/สาขาสุขภาพ) เป็น 0% เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี คือ จาก 2010 เป็นปี 2007 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 เป็น 2012 สำหรับประเทศ CLMV โดยได้กำหนดเพดานสำหรับสินค้าทั้งหมดใน Priority Sectors ไม่ต้องการเร่งลดภาษี (Negative List) ไว้ที่ 15%

          (2) การค้าบริการ - จะเร่งเปิดเสรีสาขาบริการใน Priority Sectors (สาขาสุขภาพ, e-ASEAN, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ) ภายในปี ค.ศ. 2010 ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้

          (3) การลงทุน - จะเร่งเปิดการลงทุนในรายการสงวน (Sensitive List) ภายในปี 2010 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ปี ค.ศ. 2013 สำหรับเวียดนามและ 2015 สำหรับกัมพูชา ลาว และพม่า ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้ และส่งเสริมการผลิตในอาเซียนโดยการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN free trade zones เพื่อส่งเสริมการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในอาเซียน  (outsourcing) และดำเนินมาตรการร่วมเพื่อดึงดูด FDI

          (4) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน - ซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่างๆ คือ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรฐาน (standard and conformance) การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง และ logistics service สำหรับการขนส่ง การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน และ การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ และ แรงงานมีฝีมือ

          (5) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน 11 สาขากำหนดมาตรการร่วม ซึ่งคาบเกี่ยวกับทุกสาขาเช่นเดียวกับในกรอบความตกลงฯ และมาตรการเฉพาะสำหรับการรวมกลุ่มแต่ละสาขานั้นๆ โดยรวมอยู่ในแผนการรวมกลุ่ม (Road map) ซึ่งผนวกอยู่กับพิธีสารฯ

          ขณะที่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors)  และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของ อาเซียน 11 ฉบับ (ASEAN Sectoral Integration Protocol) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547 

          ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ทุกประเทศย้ำความสำคัญของการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนให้เร็ว ขึ้น โดยอาจให้สำเร็จภายในปี 2555 (ค.ศ. 2012) และได้เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยเร่งรัดการรวมตัว เช่น การใช้วิธีการ Two plus X ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยเสนอความจำเป็น และแนวทางนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ก็ได้สนับสนุนข้อเสนอแนะของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ด้วย


 การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง 

          การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง ถือว่าเป็นการเปิดเสรีด้านการค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยจะเน้นใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก ตามความถนัด เนื่องจากแต่ละประเทศมีวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะให้ผลิตทุกอย่าง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนสินค้าแบบเสียเปล่า

 สำหรับ 11 สาขานำร่องมีดังนี้

          1. สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร
          2. สาขาประมง
          3. สาขาผลิตภัณฑ์ยาง
          4. สาขาสิ่งทอ
          5. สาขายานยนต์
          6. สาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          7. สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          8. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          9. สาขาสุขภาพ
          10. สาขาท่องเที่ยว
          11. สาขาการบิน

          อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้เพิ่มสาขาที่ 12 ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ทำได้สะดวกมากขึ้น

 เมื่อแบ่งทั้ง 12 สาขา ตามประเทศที่รับผิดชอบ สามารถแบ่งได้ ดังนี้

          1. พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
          2. มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
          3. อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          4. ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          5. สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ